จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมบทเรียน

ภาคเรียนที่ 1/2567

 บรรยากาศการจัดการเรียนการสอน 

ขอขอบคุณ ดร.นวพรรดิ์ นามพุทธา ผอ.กลุ่มศึกษานิเทศก์ สพม.26 

นิเทศการจัดการเรียนการสอน Active Leaning  วันที่ 1 กรกฎาคม 2562


ความรู้สึกจากการเข้ารับการอบรมหลักสูตร 

Google App For Education

 วิธีคิดแบบอริยสัจ 4   

 เทคนิคในการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหา 

        การคิดหาวิธีแก้ไขปัญหานั้น จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ เพื่อหาวิธีที่มีความแตกต่างและหลากหลาย โดยควรจะวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง เสียก่อน แล้วพยายามใช้ความคิดสร้างสรรคเฟ้นหาวิธีแก้ไขไว้มากๆ อย่างน้อย 20 วิธี ซึ่งมีหลักง่ายๆที่ช่วยให้เราคิดได้มากขึ้นดังนี้คือ

        >>พยายามคิดนอกกรอบประสบการณ์และความชำนาญที่เรามีอยู่

        >>ให้ความสำคัญกับทุกความคิดหรือทุกๆ วิธีแก้เท่าๆกัน

        >>หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์หรือตัดสินความคิดใหม่ๆ ที่เพิ่งคิดออก แต่ควรใช้ความคิดนั้นเป็น ตัวกระตุ้นให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาวิธีแก้ที่สืบเนื่องต่อมาจากความคิดนั้น

        >>แม้ว่าจะคิดหาทางแก้ได้ดีที่สุดแล้วก็ไม่ควรหยุดความพยายามที่จะคิดหาวิธีต่อไป

        >>พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีแก้ทุกวิธีให้ชัดเจน เพราะจะช่วยทำให้เราเกิดความคิดใหม่ๆขึ้นมาได้ >>อ่านต่อ<<<

ที่มา: http://www.novabizz.com/NovaAce/SolveProblem.htm

  การวางแผนแก้ไขปัญหาตามหลักอริยสัจ 4

                การประยุกต์ใช้หลักธรรมะมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ไม่ยาก แต่เวลาจะลงมือทำจริง ๆ แล้ว เรามักจะมองข้ามหรือนึกไม่ถึง ทั้ง ๆ ที่หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว หรือเราอาจจะทำอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว แนวโน้มการบริหารสมัยใหม่ก็หันเข้าสู่หลักพื้นฐานคือการทำคุณงามความดีมากขึ้น เช่น เน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม การสร้างสมดุลชีวิตและธุรกิจ การใส่ใจให้ความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานมากขึ้น ฯลฯ ซึ่งการทำธุรกิจภายใต้การทำความดีมีคุณธรรมจริยธรรม ก็จะสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาหลายประการ ยกตัวอย่างหลักธรรมพื้นฐานที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง การนำหลักอริยสัจ 4 มาใช้กับการวางแผนแก้ปัญหาในการทำงาน โดยเรียกเป็นตัวย่อว่า 4C ได้แก่ 1. Case 2. Cause 3. Clear 4. Crack >>อ่านต่อ<<<

ที่มา :https://humanrevod.wordpress.com/2013/04/03/4-noble-truths-problem-solving/