Chapter 8 : การนำเข้าภาพ เสียง และวิดีโอ

การนำรูปภาพมาใช้งานในโปรแกรม Flash

      โปรแกรม Flash สามารถรองรับการทำงานเกี่ยวกับรูปภาพทั้งแบบบิตแมพ (Bitmap) และ ภาพเวคเตอร์ (vector)
      - รูปแบบภาพบิตแมพ (Bitmap) เช่น JPG, GIF, BMP, PNG, TIFF, PCT, PSD,PIC
      - รูปแบบภาพเวคเตอร์ (vector) เช่น WMF, EMF, AI, EPS, DX F, SGI, PNTG, QTIF

 

รูปแบบการนำเข้าภาพ

 

แบบที่ 1 Import to Stage เป็นการวางภาพไว้บน stage หรือ Scene ที่กำลังเปิดอยู่

 

ขั้นที่ 1 คลิกเมนู File -> Import > Import to Stage...

 

la01

 

 

ขั้นที่ 2 คลิกเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ จากแหล่งภาพ แล้วคลิก Open  

 



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 3 ภาพจะถูกนำเข้า และวางบน stage หรือ Scene ที่กำลังเปิดอยู่  

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบที่ 2 Import to Library เป็นการนำภาพเข้ามาเก็บไว้ใน Library ในรูปแบบซิมโบล เมื่อต้องการนำมาใช้จึงหยิบจากLibrary มาวางที่ Stage

 

ขั้นที่ 1 คลิกเมนู File -> Import > Import to Library...

 

p03


 

 

 

 

ขั้นที่ คลิกเลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ จากแหล่งภาพ แล้วคลิก Open  

 



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 3 ภาพจะถูกนำเข้า และเก็บไว้ใน Library

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 4 ลากซิมโบล จาก Library มาวางที่ stage ซึ่งสามารถทำได้หลายครั้งตามต้องการ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การนำเข้าเสียง

หมายเหตุ : กรุณาดาวน์โหลดโปรแกรม QuickTimeInstaller ก่อนการนำเสียงเข้าไปใช้ในงาน Flash ...... [ ดาวน์โหลดที่นี่ ]
               หรือ  http://www.apple.com/quicktime/download/

 

ขั้นที่ 1 หลังจากสร้างผลงานที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้สร้างเลเยอร์ ขึ้นใหม่อีก 1 เลเยอร์ตั้งชื่อ sound

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 2 import file เพลงหรือเสียงที่ต้องการมาใช้กับงาน flash ของเรา โดยไปที่ file > import > import to Library…. แล้วเราจะได้ไฟล์เสียงมาเก็บไว้ที่ Library

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 3 ใช้เมาส์แดรกลากไฟล์เสียงจาก Library มาที่ Stage จะปรากฎสัญลักษณ์ของเสียงที่เลเยอร์ Sound

 

 

 

 

 

 

 


 

ขั้นที่ 4 กำหนดคุณสมบัติของ Sync (รูปแบบการแสดงผลของเสียง)ที่ Properties ดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      Event = เสียงจะเล่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบโดยไม่ขึ้นกับ Timeline แม้ว่า Movie จะจบแล้วก็ตาม ซึ่งถ้า Movie เล่นวนซ้ำในขณะที่เสียงของรอบแรกยังไม่จบ ก็จะเกิดการทับซ้อนกันระหว่างเสียงที่เล่นรอบแรกกับรอบที่เล่นวนซ้ำใหม่ วิธีนี้เหมาะกับการใส่เสียงให้กับปุ่ม

      Start = เสียงจะเล่นตั้งแต่ต้นจนกว่าจะจบ โดยถ้า Movie เล่นวนซ้ำ เสียงจะไม่เล่นซ้อนขึ้นมาอีก แต่จะเล่นเสียงเดิมต่อไปเรื่อย ๆ วิธีนี้เหมาะกับการใส่เสียงประกอบ Movie

      Stop = ใช้สำหรับสั่งให้หยุดเล่นเสียง เมื่อ Movie เล่นมาถึงคีย์เฟรมที่กำหนดคำสั่ง stop นี้ไว้

      Stream = เป็นรูปแบบที่เสียงจะหยุดเล่นเมื่อ Movie จบ และจะไม่เล่นเกินกว่าจำนวนเฟรม์ที่มีอยู่บน Timeline

 

การลบไฟล์เสียงออกจากเฟรม

      กรณีที่แทรกเสียงในเฟรมแล้ว เมื่อต้องการลบเสียงออก ทำได้โดย
      1. คลิกที่เฟรมใดเฟรมหนึ่ง ในระหว่างเฟรมที่ใส่เสียงไปแล้ว
      2. ที่หน้าต่าง Properties ช่อง Sound ให้คลิกเลือกเป็น None

 

 

 

 

 

 

 

การนำเข้าวีดิโอ

      การนำวีดิโอเข้ามาใช้กับ Flash มีหลายวิธี แต่ใน E-Learning นี้จะสอนวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำ แต่ไฟล์วีิดิโอนั้นจำเป็นจะต้องเป็นไฟล์ที่เป็นนามสกุล .FLV เท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องมีหรือเตรียมไว้ตั้งแต่แรกคือไฟล์วีดิีโอนามสกุล .FLV และให้นำไฟล์วีดิโอเก็บไว้อยู่ในที่เดียวกันกับไฟล์ flash ที่เราเซฟไว้      ถ้าหากว่าี่มีไฟล์วีดิโอเป็นไฟล์นามสกุล .MP4 หรืออื่น ๆ ก็สามารถใช้โปรแกรม Converter มาแปลงให้เป็นนามสกุล .FLV กันได้ โดย Download โปรแกรมสำหรับแปลงไฟล์ทุกชนิดได้ที่นี่ --> [ Download ]

 

ขั้นที่ 1 เปิดไฟล์ที่สร้างไว้แล้วขึ้นมา สร้างเลเยอร์ใหม่ ตั้งชื่อว่า VDO แล้วสร้าง key frame ในเฟรมที่ต้องการ (ในตัวอย่างคือเฟรมที่ 31) โดยกดปุ่ม F6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 2 คลิ๊กเมนู Window --> Components หรือ กดปุ่ม Ctrl+F7

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 3 เมื่อคลิ๊ก Components แล้ว เราจะได้หน้าต่างเหมือนรูปด้านล่าง ให้เรา Double click เลือก FLVPlayback

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 4 ที่ Stage จะปรากฏหน้าจอในการเล่นไฟล์วิดีโอ ดังภาพ สามารถปรับขนาดกรอบแสดงวีดิโอได้ตามต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 5 คลิ๊กที่กรอบวีดิโอ 1 ครั้ง แล้วไปกำหนดชื่อที่ properties ในช่อง Instance Name เช่น ในตัวอย่างตั้งชื่อ MyVDO

 


           

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 6 สร้างเลเยอร์ใหม่ 1 เลเยอร์ แล้วกดปุ่ม F6 ที่เฟรมตรงกับเลเยอร์ VDO เพื่อ Insert keyframe หลังจากนั้นกดปุ่ม F9 เพื่อเรียกหน้าต่าง Action ออกมาสำหรับกำหนด Script เพื่อควบคุมการเล่นของวีดิโอ ดังนี้ (พิมพ์ตามตัวอย่างได้เลยค่ะ แต่ต้องใช้ชื่อ Instance Name และชื่อไฟล์ VDO เป็นของตัวเองนะคะ ชื่อที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กต้องเป๊ะนะคะ)

 

            

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นที่ 7 เมื่อกำหนด ActionScript เสร็จแล้ว ให้ปิดหน้าต่าง Action แล้วกดปุ่ม Ctrl+Enter เพื่อทดสอบ Movie